Wednesday 29 August 2018
วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกิจกรรมของแต่ละฐานในหัวข้อของ
เขาดินและได้เริ่มเรียนในเรื่อง การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เด็ก มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา มีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่อง
- พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย
1.พัฒนาการด้านร่างกาย -กีเซลล์
2.พัฒนาการด้านสติปัญญา -เพียเจต์ บรูนเนอร์ ไวก็อตสกี้ กานเย
3.พัฒนการด้านสังคม -มาสโลว์
ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด จะแบ่งเป็น 2 ช่วงปี คือ
2-4 ปี ใช้ความคิดเป็นของตัวเอง ,ใช้เหตุผลได้ไม่มาก
4-7 ปี สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ ,ใช้เหตุผลได้มากขึ้น,ผ่านขั้นอนุรักษ์
** เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดในชีวิต และแสวงหาความรู้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว **
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด้กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งรอบๆตัว
1.ความหมายของทักษะการสังเกตุ
หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ
ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
2.ความหมายของทักษะการจำแนก
หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
3.ความหมายทักษะการวัด
หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหรือหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง
4.ความหมายของทักษะสื่อสารความหมาย
หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพและภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
หมายถึง การเพิ่มเติมความเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การจากบอกเงาที่เกิดจาก 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
7.ความหมายทักษะการคำนวณ
หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวณของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนับจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
คุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1.ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2.ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม คำถามที่มักใช้ 5W 1H
3.ความสามารถในการลงความเห็น
4.ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
5W คือ Who What Where When Why ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม
1H คือ How อย่างไร
องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.สิ่งที่กำหนดให้
รูปที่กำหนดให้ สังเกต จำแนก วัด สื่อความหมาย ลงความเห็น หาความสัมพันธ์ การคำนวณ เช่น วัตถุ สิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆ
2.หลักการหรือกฏเกณฑ์
เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่น เกณฑ์ จำแนกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน เกณฑ์ในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันหรือขัดแย้ง
3.การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
เป็นการพิจารณาส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ตามหลักเกณฑ์แล้วทำการรวบรวมประเด้นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป
กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการศึกษา
ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฏเกณฑ์
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ
ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจเรียน มีพูดคุยกับเพื่อนนิดหน่อย
ประเมินเพื่อน : ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์สอน แต่ก็มีลุกบ้าง
ประเมินอาจารย์ : อธิบายพอยด์ได้ละเอียดครบถ้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น