วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning log 13
Wednesday 21 November 2018

  วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเว็บในการทำคลิปและมีอธิบายให้นักศึกษาฟังว่าทำยังไงและได้ให้นักศึกษาไปทำคลิปมาส่งเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้ไปทำกิจกรรมกับเด็กมาจากนั้นอาจารย์ได้แนะนำการเขียนแผนผังพร้อมให้นักศึกษานำเสนอหหน่วยการเรียนรู้ของตัวเอง
แผนความคิดหน่วยยานพาหนะ มีดังนี้
1.ประเภทของยานพาหนะ
2.ลักษณะของยานพาหนะ
3.การดูแลยานพาหนะ
4.ประโยชน์ของยานพาหนะ
5.ข้อควรระวัง
กิจกรรม 6 กิจกรรม มีดังนี้
1.วันจันทร์ กิจกรรมเกมการศึกษา ในหัวข้อเรื่องประเภทของยานพาหนะ
2.วันอังคาร กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ในหัวข้อเรื่องลักษณะของยานพาหนะ
3.วันพุธ      กิจกรรมเสรี  ในหัวข้อเรื่องการดูแลรักษา
4.วันพฤหัสบดี  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ในหัวข้อเรื่องประโยชน์ของยานพาหนะ
5.วันศุกร์  กิจกรรมกลางแจ้ง ในหัวข้อเรื่องข้อควรระวัง

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงต่อเวลา 

ประเมินเพื่อน :เพื่อนตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ :อธิบายได้ละเอียดให้คำเสนอแนะนักศึกษา 

                                 à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง

Learning log 12
Wednesday 14 November 2018

    วันนี้อาจารย์ได้พานักศึกษาไปทำการทดลองกับเด็กที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมเสือใหญ่โดยการทำกิจกรรมของแต่ละฐานของตัวเองที่ได้เตรียมเอาไว้ 






ประเมินตัวเอง :ตั้งใจทำกิจกรรม สนุกสนานไปกับเด็กๆ 

ประเมินเพื่อน :เพื่อนสนุกสนานตั้งใจทำกิจกรรมของตัวเอง ให้ความร่วมมือกันทุกกลุ่ม

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์น่ารัก อธิบายก่อนลงมือทำ 


Learning log 11
Thursday 8 November 2018

  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปทำแผนผังความคิดเรื่องที่เราชอบและให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนมาละคน 1 แผน 6 กิจกรรม โดยกลุ่มหนูเลือกหน่วย ยานพาหนะ 
ดังนี้
1.ความหมาย
   วัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย
2.ประเภทของยานพาหนะ

  • ทางบก รถยนต์ รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถไฟ รถบรรทุก
  • ทางน้ำ เรือ เรือหางยาว เรือประมง 
  • ทางอากาศ เครื่องบิน จรวด 
3.การใช้งาน
  •  น้ำมัน
  • แก๊สธรรมชาติ
4.การดูแลรักษา
  • ดูแลความสะอาดและบำรุงยานพาหนะ
  • ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนใช้งานทุกครั้ง
  • ควรนำยานพาหนะทุกชนิดเก็บเข้าที่เมื่อไม่ต้องการใช้งาน
5.ประโยชน์ของยานพาหนะ
  • ใช้ในการเดินทาง
  • ใช้ในการขนย้ายสิ่งของ
6.ข้อจำกัด
  • อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
  • ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
                                     
                     à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
  

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning log 10
Wednesday 7 November 2018

  วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคลิปของกลุ่มตัวเอง มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 Shape of Bub-Bub Bubble 


                                    
                                                 

กลุ่มที่ 2 ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด

                           

กลุ่มที่ 3 ลูกโป่งพอโต 

                              
                                                 
กลุ่มที่ 4 เรือดำน้ำ

                               


กลุ่มที่ 5 ปั้มขวดและลิปต์เทียน

                              

สิ่งที่จะต้องแก้ไข มีดังนี้
  1.การอ่านขั้นตอนในการทดลองควรจะต้องมีไม้ชี้
  2.ในการวาดสิ่งของต่างๆควรจะต้องมีป้ายชื่อติดว่ามันคืออะไร
  3.การตั้งประเด็นให้เด็กเป็นคนตั้ง
  4.การตั้งสมมติฐาน ขวดน้ำร้อนจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนำไปคว่ำกับน้ำสี
  5.การพูดสรุป

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงต่อเวลา

ประเมินเพื่อน :เพื่อนตั้งใจฟังและนำเสนอคลิปของตัวเองแต่จะต้องนำคลิปไปแก้ไข

ประเมินอาจารย์ :แนะนำการพูดในแต่ละขั้นและชี้แนะในคลิปให้อย่างละเอียดเพื่อให้นักศึกษษนำไปแก้ไขและปฏิบัติจริงได้ถูกต้อง


Learning log 9
Wednesday 24 October 2018

  การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็ก มีดังนี้
1.สาระที่เด็กควรรู้ 
2.ประสบการณ์เรียนรู้ เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก บุคคลสถานที่และธรรมชาติรอบตัวเด็ก 
ผู้สอนจะต้องมีเทคนิคที่จะทำให้เด้กได้คิดวิเคราะห์ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมมาสู่ชีวิตประจำวันของเด็กและในส่วนการประเมินผลต้องใช้วิธีการสนทนาและให้เด็กได้ลงมือวาดรูปกิจกรรมการทดลองและอาจารย์ได้ให้นักศึกษษที่อัดคลิปววีดีโอมานำเสนอ 

กิจกรรมที่ 16 ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่
สมมติฐานในการทดลอง
  1.เมื่อเทน้ำลงในภาชนะที่มีขนาดต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 หาภาชนะที่มีขนาดแตกต่างกันมา 3 ขนาดจากนั้นให้ใส่น้ำลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้โดยการใช้แก้วตวงน้ำให้เท่ากันและให้เด็กๆสังเกตการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
  น้ำในทุกภาชนะมีขนาดเท่ากันเป็นเพราะว่าแก้วที่ใช้ตวงน้ำลงภาชนะมีขนาดเดียวกัน

กิจกรรมที่ 17 ลูกข่างหลากสี
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ถ้าหมุนลูกข่างจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 ตัดกระดาษเป็นทรงกลมแล้วติดลูกปิงปองให้อยู่ตรงกลางของแผ่นกระดาษแล้วตกแต่งระบายสีให้สวยงาม

สรุปผลการทดลอง
  เมื่อเราทำการหมุนลูกข่างจะเห็นแค่สามสี

กิจกรรมที่ 18 เรือแรงลม
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ถ้าเป่าลมใส่แกนทิชชู่จะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำถ้วยโฟมมาเจาะรูตรงกลางและนำแกนทิชชูมาใส่ในรูที่เจาะไว้

สรุปผลการทดลอง
  เรือสามารถเคลื่อนที่ได้เป็นเพราะแรงลมในการเป่า

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ เข้าเรียนตรงต่อเวลา

ประเมินเพื่อน :เพื่อนตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนออกไปนำเสนอ

ประเมินอาจารย์ :อธิบายละเอียดให้นำแนะนำกับเพื่อนที่ออกไปนำเสนอคลิปดีค่ะ

                                         




Learning log 8
Wednesday 17 October 2018

  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะนำเอาไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติจริงและได้ฝึกการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกกิจกรรมมากลุ่มละ 1 กิจกรรม มีหลักการในการเขียนโครงการ ดังนี้ 
1.ชื่อโครงการ
2.หลักการและเหตุผล
3.เวลาและสถานที่ /งบประมาณ
4.ตารางการทำกิจกรรมต่างๆ
5.วิธีการประเมินผ
6.การแบ่งหน้าที่
  ซึ่งกิจกรรมการทดลองในแต่ละกลุ่มจะต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1.ตั้งชื่อกิจกรรมให้มีความน่าสนใจ
2.วัตถุประสงค์ (เด็กจะต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลองให้ได้มากที่สุด)
3.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
4.ขั้นตอนการทดลอง
5.ผลการทดลองที่เด็กจะได้รับ


Learning log 7
Wednesday 10 October 2018

  วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

กิจกรรมที่ 11 ฟองสบู่
สมมติฐานในการทดลอง
  1.น้ำกับน้ำยาล้างจานเมื่อผสมกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 เทน้ำลงในกะละมังในปริมาณ 1/4 ของขวดและผสมน้ำยาล้างจาน 5 ช้อนและคนให้เข้ากันต่อมาดัดลวดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม วงรี จากนั้นนำมาพันกับลวดกำมะหยี่ต่อมาให้นำลวดมาจุ่มกับน้ำยาที่ผสมกันในกะละมังและยกขึ้นมาเป่าถ้าอยากให้เป็รูปต้องใส่น้ำยาล้างจานเยอะๆ

สรุปผลการทดลอง
  เมื่อผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานจะเกิดเป็นลูกโป่งขึ้นมาแม้แต่จะเอารูปทรงต่างๆมาเป่าก็เป็นทรงกลมอยู่ดี 

กิจกรรมที่ 12 ลูกโป่งพอโต
สมมติฐานในการทดลอง
  1.เบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูผสมกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำเบคกิ้งมาใส่ในลูกโป่งใส่ให้เยอะๆและนำน้ำส้มสายชูมาใส่ในขวดน้ำจากนั้นนำลูกโป่งมาใส่บนขวดน้ำเบคกิ้งโซดาที่อยู่ในลูกโป่งก็จะลงไปในน้ำส้มสายชูทำให้เป็นฟองฟู่เกิดลูกโป่งเป็นลูกโป่งพองโต

สรุปผลการทดลอง
  เมื่อเบคกิ้งโซดาที่อยู่ในลูกโป่งตกลงไปในขวดที่มีน้ำส้มสายชูจะเกิดเป็นฟองฟู่เป็นลูกโป่งพองโตขึ้นมาก็เพราะว่าอากาศจะลอยเข้าไปในลูกโป่งทำให้ลูกโป่งพองโต

กิจกรรมที่ 13 แยกเกลือกับพริกไทย
สมมติฐานในการทดลอง
  1.จะมีวิธีแยกเกลือกับพริกไทยออกจากกันได้อย่างไร

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำเกลือผสมกับพริกไทยลงในจานและนำช้อนมาถูกับผ้าขนสัตว์แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น

สรุปผลการทดลอง
  จะเกิดไฟฟ้าสถิตเคลื่อนที่ทำให้ดูดพริกไทยลอยขึ้นมาได้

กิจกรรมที่ 14 ภาพซ้ำไปมา
สมมติฐานในการทดลอง
  1.เราจะสามสารถต่อภาพได้อย่างไร

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 วาดรูปนกและระบายสีจากนั้นให้ตัดรูปกระดาษภาพนกแล้วนำมาเรียงต่อกันและสังเกต

สรุปผลการทดลอง
  เด็กๆได้ฝึกทักษะการต่อภาพไปในทิศทางเดียวกัน

กิจกรรมที่ 14 ระฆังดำน้ำ
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ถ้านำเอาขวดน้ำกดลงไปในแก้วน้ำจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำขวดจุ่มลงไปในแก้วน้ำเปิดฝาขวดน้ำออกแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
  การทดลองที่ 2 นำเอาเรืองดำน้ำจุ่มลงไปในแก้วน้ำแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงเหมือนการทดลองที่ 1

สรุปผลการทดลอง
  อากาศจะลอยขึ้นมาบนผิวแก้วทำใหน้ำเข้าไปแทนที่เพราะในอากาศมีแรงดันและอากาศลอยขึ้นมาบนผิวแก้วทำให้เรือดำน้ำไม่เปียก

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองานเป็นอย่างดี อาจมีพูดคุยบ้างเล็กน้อย

ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆมีการเตรียมความพร้อมกันมาอย่างดี ตั้งใจเสนอผลงานของตัวเอง

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์อธิบายลายละเอียดเพิ่มเติมให้ทุกกิจกรรม 

                                       
Learning log 6
Wednesday 3 October 2018

     วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอกิจกรรมของตนเองที่ได้สรุปในอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยอาจารย์ได้ให้นำแนะนำก่อนนักศึกษาจะออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ดังต่อไปนี้

  1. ผู้สอนจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลองให้เรียบร้อยและให้เรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่สิ่งของชิ้นไหนที่เล็กควรตั้งไว้ด้านหน้า ต้องมีการกำกับติดป้ายหมายเลขที่ภาชนะให้เรียบร้อย ภาชนะชิ้นไหนเป็นชิ้นที่หนึ่งและสองกำกับให้เรียบร้อย
  2. ในการสอนผู้สอนจะต้องแนะนำอุปกรณ์ให้ครบทุกชนิดและให้ถามผู้เรียนว่า ของชิ้นนี้เด็กๆสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง เด็กๆเคยเห็นที่ไหน ในระหว่างที่ถามผู้สอนก็จะต้องอธิบายอย่างละเอียดเพื่อให้เด็กเข้าใจ
  3. ผู้สอนร่วมทำกิจกรรมไปพร้อมกับเด็กตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแรกที่จะทำในกระบวนการสอนคือ การตั้งปัญหาสมติฐานในการทดลองว่าการทดลองนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  4. ผู้สอนจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำการทดลองเพื่อให้เด้กเกิดความสนุกสนานไม่เบื่อหน่าย
  5. ผู้สอนจะต้องมีการสรุปผลการทดลองอย่างละเอียด


  
                     

กิจกรรมที่ 1 ปั้มขวดและลิปเทียน
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ขวดที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นกับน้ำสี
  2.น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 เทน้ำสีในจานที่ 1 จากนั้นใส่น้ำร้อนในขวดและเขย่าจนเกิดความร้อนและเทน้ำออกจากนั้นเอาขวดมาคว่ำลงบนจาน
  การทดลองที่ 2 เทน้ำสีลงจานที่ 2 จุดเทียนหอมวางไว้บนจานที่ 2และนำแก้วมาครอบเทียนที่จุดเอาไว้

สรุปผลการทดลอง
  การที่อุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะลอยขึ้นไปบนขวดทำให้มีน้ำเข้าไแทนที่และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็จะสูงขึ้นตามน้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้เทียนที่จุดไฟดับ

กิจกรรมที่ 2 เมล็ดถั่วเต้นระบำ
สมมติฐานในการทดลอง
  1.น้ำโซดาที่เทลงไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเมล็ดถั่วเขียว
  2.น้ำที่เทลงไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเมล็ดถั่วเขียว

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 ใส่เมล็ดถั่วเขียวลงไปในแก้วโดยการใช้ช้อนตวงเมล็ดถั่วเขียวจากนั้นก็ใส่น้ำโซดาลงไปในแก้วที่เตรียมไว้
  การทดลองที่ 2 ทำเหมือนการทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนจากน้ำโซดาเป็นน้ำเปล่า

สรุปผลการทดลอง
  น้ำโซดามีแก๊สที่มีน้ำหนักเบากว่าน้ำจึงทำใหเมล็ดถั่วเขียวเกิดจากลอยตัวขึ้น (แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์)

กิจกรรมที่ 3 แรงตึงผิว
สมมติฐานการในการทดลอง
  1.น้ำในแก้วจะนำไปทำอะไรได้บ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำน้ำเทลงไปในก้วน้ำให้เต็มแก้วจะเกิดน้ำนูนสูงขึ้นมา
  การทดลองที่ 2 ใช้หลอดน้ำดูดน้ำขึ้นนมาแล้วนำน้ำไปหยดลงฝาขวดให้เต็ม ใส่จนเกิดน้ำนูนสูงขึ้นมา

สรุปผลการทดลอง
  น้ำมีแรงตึงผิวทำให้น้ำที่เกิดการนูนไม่ล้นออกมา 

กิจกรรมที่ 4 แสง
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ถ้านำเอาไฟมาส่องกับแก้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำแก้วมาวางไว้บนโต๊ะจากนั้นใช้ไฟส่อง
  การทดลองที่ 2 นำแก้วทั้งสองใบตั้งให้มีระยะห่างที่เท่ากันไม่ต้องห่างกันมากจากนั้นใช้ไฟส่องเหมือนการทดลองที่ 1

สรุปผลการทดลอง
  เมื่อมีการนำไฟไปส่องที่แก้ว แสงจะมีการตกกระทบและเมื่อนำแก้วทั้งสองใบมาวางในระยะห่างที่เท่ากันแก้วใบที่ 1 จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแก้วใบที่ 2

กิจกรรมที่ 5 กระจกเงา
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ถ้ามีการวาดรูปในกระดาษแล้วนำกระจกมาส่องจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 วาดรูปในกระดาษที่เตรียมเอาไว้แค่ครึ่งรูปแล้วนำกระจกมาส่องที่กระดาษโดยมีการวางของกระดาษในแนวตั้งฉากกับกระจก

สรุปผลการทดลอง
  การเกิดแสงสะท้อนของเงาทำให้เห็นรูปภาพที่วาดเอาไว้มีขนาดเต็ม

กิจกรรมที่ 6 ไหลแรงไหลค่อย
สมมติฐานในการทดลอง
  1.ถ้าเจาะรูบนขวดน้ำ น้ำจะไหลออกมาได้เร็วหรือช้า 

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 นำขวดน้ำที่เตรียมไว้มาเจาะรูโดยมีการเจาะคือ เจาะรูบนขวดและเจาะล่างขวดแล้วนำสก๊อตเทปมาปิดรูที่เจาะเอาไว้และเทน้ำใส่ในขวดที่เจาะรูเอาไว้ให้เต็มขวด
  การทดลองที่ 2 นำขวดน้ำที่เจาะรูมาวางไว้บนถาดและนำสก๊อตเทปที่ตดเอาไว้ดึงออกและให้น้ำในขวดไหลออกมา

สรุปผลการทดลอง
  รูที่เจาะด้านล่างจะมีน้ำไหลออกมาได้เร็วกว่ารูด้านบน

กิจกรรมที่ 7 ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท
สมมติฐานการทดลอง
  1.ดินน้ำมันสามารถปั้นเป็นรูปอะไรได้บ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 ผู้สอนให้เด็กๆปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงกลมจากนั้นให้เด้กกดดินน้ำมันด้านบนและด้านข้าง เพื่อให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยม จากนั้นให้กดทุกด้านให้มีรูปดินน้ำมันยอดปราสาทให้มีขนาดเท่ากัน จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเด็กๆปั้นดินน้ำมันเป็นยาวๆและกลิ้งให้มีพื้นที่เรียบที่สุดและหลังจากนั้นให้เด็กปั้นดินน้ำมันตามจินตนาการของเด็ก เมื่อได้ดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆแล้วให้เด็กใช้เส้นด้ายมาตัดที่ดินน้ำมันแล้วผู้สอนให้เด็กๆโชวืดินน้ำมันของตัวเองว่าเป็นรูปอะไร

สรุปผลการทดลอง
  เด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ 

กิจกรรมที่ 8 ท่วงทำนองตัวเอง
สมมติฐานการทดลอง
  1.การนับจำนวนของตัวเลขมีการนับอย่างไรบ้าง
  2.จำนวนเลขคู่ เลขคี่ในการนับ

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 ผู้สอนตัดกระดาษโดยมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นี่เหลี่ยมจัตุรัสและพับมุมทั้ง 4 มุมให้ได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีขนาดเท่ากันให้หมดทุกด้านและพลิกกระดาษและพับมุมกระดาษทั้ง 4 มุมให้เท่ากันเหมือนเดิมและให้ระบายสีทั้งสี่ช่องโดยจะต้องมีสีทีเหมือนกันอยู่สองช่องและคลี่กระดาษให้เด็กๆนับและทายว่าเป็นสีอะไร

สรุปผลการทดลอง
  เด็กได้ฝึกการนับเลขไปในตัวและรู้จักสีได้มากขึ้น

กิจกรรมที่ 9 พับและตัด
สมมติฐานการทดลอง
  1.เมื่อหยดสีลงบนกระดาษจะเกิดเป็นรูปอะไร

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
   การทดองที่ 1 ให้เด็กพับกระดาษโดยการแบ่งครึ่งของกระดาษให้เท่าๆกันและหยดสีลงบนกระดาษและปิดกระดาษลงและกดกระดาษตรงที่ๆมีสีและให้เด็กๆหยุดสีลงบนจุดกึ่งกลางของกระดาษและปิดนับแล้วเอาเส้นด้ายมาหมุนวนตามเข็มนาฬิกา

สรุปผลการทดลอง
  ในการดึงได้จะได้รูปในลักษณะต่างๆ

กิจกรรมที่ 10 แสง สี และการมองเห็น
สมมติฐานการทดลอง
  1.ทำไมกระดาษสีที่มีสีเดียวกันถึงมองรูปภาพไม่เห็น 

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
  การทดลองที่ 1 วาดรูปลงบนกระดาษโดยการใช้สี 3 สี เช่น สีเขียว แดง น้ำเงิน จากนั้นนำกระดาษแก้วมาวางบนแผ่นที่วาดรูปเอาไว้

สรุปผลการทดลอง
  กระดาษที่มีสีเดียวกันไม่สามารถเห็นรูปที่วาดเอาไว้ได้

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจนำเสนออย่างดีอาจจะมีผิดพลาดบ้างแต่จะนำไปแก้ไขปรับปรุง

ประเมินเพื่อน :วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อยแต่นำเสนอได้ดีได้ครบทุกคน

ประเมินอาจารย์ :มีการอธิบายเพิ่มเติมให้อย่างละเอียด แนะนำการนำเสนอของนักศึกษาทุกคน ถือเป็นเรื่องที่ดี 

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning log 5
Wednesday 19 September 2018

                                                     
                           
                 วันนี้อาจารย์แจกใบกิจกรรมของบ้านวิทยาศาสตร์ให้กับทุกคนในกลุ่มและให้นักศึกษาสรุปกิจกรรมของตัวเอง
                  กิจกรรมของหนูคือ  ท่วงทำนองของตัวเลข (จำคู่และจำนวนคี่)

                                                    
วัสดุอุปกรณ์

  1. กระดาษสีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  2. ดินสอสีหลายๆแท่งคละสี
  3. ลูกอม ตัวต่อ หรือลูกแก้ว 
ขั้นตอนการทำกิจกรรม

  • แบ่งเด็กๆออกเป็น 2 กลุ่มให้มีจำนวนเท่ากัน โดยให้เด็กๆ ช่วยกันคิด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี 
  • หลังจากแบ่งกลุ่มให้นับจำนวนของสมาชิกแต่ละกลุ่มว่ามีจำนวนเท่ากันหรือไ่
  • ให้เด็กแบ่งลูกอมเป็นสองกองให้มีจำนวนเท่ากัน (อาจจะเริ่มนับ 1 ไปถึง 10) ให้เด็กสังเกตว่าลูกอมต้องมีจำนวนเท่าไร จึงสมารถแบ่งออกเป็น 2 กองเท่าๆกันได้ 
สรุป
    เด็กๆจะได้เรียนรู้การแบ่งสมาชิกออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกันถ้าสมาชิกในกลุ่มเป็นจำนวนคี่ จะมีหนึ่งคนในกลุ่มที่ไม่มีคู่

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจทำงานกับสิ่งที่อาจารย์ได้มอบหมาย ทำงานเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

ประเมินเพื่อน :เพื่อนอาจมีคุยกันในเวลาทำงานกันบ้างแต่ทุกคนตั้งใจทำงานของตัวเองให้เสร็จเรียบร้อยในเวลาค่ะ

ประเมินอาจารย์ :ให้คำอธิบายอย่างละเอียดในกิจกรรมที่นักศึกษาไม่เข้าใจ

Learning log 4
Wednesday 29 August 2018

     วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง ความหมายของวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
วิทยาศาสตร์ 
    หมายถึง ความรู้ต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการต่อเนื่องวัฏจักร ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการคือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและนำไปใช้

  1. การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
  2. การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
  3.   การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
  4. การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
  5. การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
  6. การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ (หาเพิ่มเติ่ม)
     กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สามารถบูรณาการไปกับกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ศิลปะและภาษาหรือนำกิจกรรมอื่น ๆมาประสานด้วยได้ข้อสำคัญต้องให้เด็กได้เรียนรู้จากการสังเกตและทดลอง  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ  3 – 4  ขวบ
  • สังเกตสัตว์เลี้ยง  โดยให้เด็กไปดูปลา  สัมผัสแมว  ได้ลูบหมา
  • สังเกตพืช  จำแนกส่วนประกอบของพืช  ส่วนประกอบของผลไม้  สังเกตดอกไม้  และใบไม้
  •  สังเกตรังของสัตว์ต่าง ๆ
  • ทดลองเลี้ยงสัตว์  ให้อาหารสัตวN
  • สังเกตสัตว์ในธรรมชาติ  เช่น  ดูนก  ดูผีเสื้อ ดูแมลง    
2.กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ  5 – 6  ขวบ

      กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ให้มีการทดลองได้  เด็กสามารถเข้าใจมากขึ้น  รวบรวมข้อมูลเป็น  สรุปเป็น  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรม

  • จำแนกเมล็ดพืช  จำแนกใบไม้  จำแนกสิ่งต่าง ๆ  ที่หาได้
  • สังเกตสัตว์เลี้ยง  เพื่ออธิบายลักษณะ  นิสัย  หรือวิธีการดูแล
  • สังเกตธรรมชาติ  เช่น  กลางวัน  กลางคืน  อุณหภูมิ
  • สังเกตการงอกของต้นไม้
  •  ทำสวนครัว  ปลูกต้นไม้
  • ศึกษาวงจรชีวิตสัตว์ต่าง ๆ  เช่น  ตัวไหม  ผีเสื้อ  กบ
  • ดูการฝักไข่  เก็บไข่  การปลูกเห็ด  เก็บผลไม้ต่าง ๆ 
ประโยชน์จากการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
       พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถแก้ปัญหาได้  และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา  การพัฒนาทางสติปัญญา  ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว  แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

ประเมินตัวเอง :ตั้งใจฟัง จดบ้าง โต้ตอบกับสิ่งที่อาจารย์ถาม

ประเมินเพื่อน :เพื่อนมาสายบ้าง แต่ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังและตอบในสิ่งที่อาจารย์ถาม 

ประเมินอาจารย์ :สอนเข้าใจ สนุก อธิบายอย่างละเอียด 





วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

Media
สื่อ เรื่อง แสงกับการมองเห็น



นำเสนอบทเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีสาระสำคัญคือ แสงจำเป็นต่อการมองเห็น โดยเน้นฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และตอบสนองนโยบายที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานของการเล่น (play-based learning) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นป.1
เฮเลน เอเคอร์แมนเป็นครูใหม่ที่เคยทำงานเป็นพยาบาลในเนิร์สเซอรี่มานานหลายปี ในนี้เธอสอนชั้นอนุบาล 3 ที่โรงเรียนประถมโคดิโคตในเมืองเฮิร์ตฟอร์ดเชอร์ เฮเลนไม่ได้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เธอจึงทำงานร่วมกับ เจน เทอร์เนอร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้มาช่วยเธอวางแผนและเตรียมการสอนสำหรับบทเรียนที่สนุกสนานคาบนี้
เฮเลนนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้นิทานเกี่ยวกับลูกหมีตัวหนึ่งซึ่งกลัวความมืด เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา จากนั้น เธอจึงตั้งคำถามกระตุ้นความคิดว่าเด็ก ๆ รู้อะไรเกี่ยวกับแสงแล้วบ้าง ชวนให้เด็ก ๆ นึกถึงที่มืดที่เคยไป แล้วจึงสอนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ หลังจากนั้น เฮเลนก็จัดกิจกรรมการสืบค้น 2 กิจกรรมหลัก ที่เชื่อมโยงเรื่องแสงกับแหล่งกำเนิดแสงและเรื่องราวในนิทาน