Wednesday 29 August 2018
วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง ความหมายของวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
หมายถึง ความรู้ต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการต่อเนื่องวัฏจักร ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการคือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและนำไปใช้
- การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
- การจำแนกเปรียบเทียบ การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้ การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
- การวัด การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้ สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
- การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
- การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น การรื้อค้น การกระแทก การทุบ การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย เช่น การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง ต่างกัน
- การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ (หาเพิ่มเติ่ม)
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สามารถบูรณาการไปกับกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ศิลปะและภาษาหรือนำกิจกรรมอื่น ๆมาประสานด้วยได้ข้อสำคัญต้องให้เด็กได้เรียนรู้จากการสังเกตและทดลอง ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 3 – 4 ขวบ
- สังเกตสัตว์เลี้ยง โดยให้เด็กไปดูปลา สัมผัสแมว ได้ลูบหมา
- สังเกตพืช จำแนกส่วนประกอบของพืช ส่วนประกอบของผลไม้ สังเกตดอกไม้ และใบไม้
- สังเกตรังของสัตว์ต่าง ๆ
- ทดลองเลี้ยงสัตว์ ให้อาหารสัตวN
- สังเกตสัตว์ในธรรมชาติ เช่น ดูนก ดูผีเสื้อ ดูแมลง
กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ให้มีการทดลองได้ เด็กสามารถเข้าใจมากขึ้น รวบรวมข้อมูลเป็น สรุปเป็น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรม
- จำแนกเมล็ดพืช จำแนกใบไม้ จำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่หาได้
- สังเกตสัตว์เลี้ยง เพื่ออธิบายลักษณะ นิสัย หรือวิธีการดูแล
- สังเกตธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน อุณหภูมิ
- สังเกตการงอกของต้นไม้
- ทำสวนครัว ปลูกต้นไม้
- ศึกษาวงจรชีวิตสัตว์ต่าง ๆ เช่น ตัวไหม ผีเสื้อ กบ
- ดูการฝักไข่ เก็บไข่ การปลูกเห็ด เก็บผลไม้ต่าง ๆ
พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา การพัฒนาทางสติปัญญา ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
ประเมินตัวเอง :ตั้งใจฟัง จดบ้าง โต้ตอบกับสิ่งที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน :เพื่อนมาสายบ้าง แต่ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังและตอบในสิ่งที่อาจารย์ถาม
ประเมินอาจารย์ :สอนเข้าใจ สนุก อธิบายอย่างละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น