การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม
บทที่1
ภูมิหลัง
การเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์จะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีเหตุผล คิดเป็น สังเกตเป็น เป็นพื้นฐานของการส่งเสริมเด็กให้มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้รู้จักการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างมีความหมายด้วยการฝึกจากการสังเกต การทดลองและการตอบ คำถามประสบการณ์ทักษะทางวิทยาศาตร์จะช่วยให้เด็กเรียนรู้จักสิ่งรอบตัว เข้าใจโลกที่เป็นอยู่ รู้จักวิเคราะห์ การจำแนก รวมถึงการเรียนรู้การแก้ปัญหา
บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการจัดการเรียนรู้นั้น ผู้วิจัยนำเสนอหัวข้อ ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้และเกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อกรจัดการเรียนรู้
1.ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
กุลยา ตันติผลาชีวะ กล่าวถึงความหายของรูปแบบการเรียนรู้ว่าหมายถึงลักษณะหรือขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มีการจัดระบบข้อเท็จจริง กฎ ที่ได้รับจากประสบการณ์เรียน ไปขยายโครงสร้างทางปัญญาให้กระจ่างจนเกิดความเข้าใจและสู่การประยุกต์
2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ได้หรือสามารถศึกษาและฝึกฝนตนเองให้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งนักการศึกษาและนักวิชาการได้ให้รายละเอียด ดังนี้
จอยและเวล ได้ให้แนวคิดที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1.รูปแบบการสอนควรมีทฤษฎีรองรับ
2.เมื่อพัฒนารูปแบบการสอนแล้วก่อนนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ต้องมีการวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎีและตรวจสอบคุณภาพในเชิงการใช้ในสถานการณ์จริง
3.การพัฒนารูปแบบการสอน อาจจะออกแบบให้ใช้ได้กว้าง
4.ลักษณะกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
4.1 การสำรวจแหล่งการเรียนรู้ ได้ศีกษาแหล่งการเรียนรู้ซึ่งอาจเป็นแหล่งการเรียนรู้ภายในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน
4.2 การเลือกตัดสินใจ เด็กได้พัฒนาการตัดสินใจและความเป็นตัวของตัวเอง
5.บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
1.ครูต้องรู้จักเด็กมากขึ้น
2.ครูต้องเตรียมการสอนล่วงหน้า
3.ครูส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น
4.ครูให้โอกาสเด็กในการดำเนินการศึกษษ ค้นหาความจริงจากแหล่งการเรียนรู้
5.ครูต้องคำนึงการจัดกิจกรรมโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
บทที่3
วิธีการดำเนินวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1.ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนในอำเภอระโนด จำนวน 43 โรงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 677 คน
2.กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนชุมชนวัดสามบ่อ จำนวน 34 คน ดำเนินการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือและวิธีสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
1.แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม จำนวน 8 แผน
2.แบบทดสอบระหว่างเรียน จำนวน 8 ฉบับ ฉบับละ 8 ข้อ
3.แบบทดสอบวัดทักษะวิทยาศาสตร์กระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเด็กปฐมวัย 1 ฉบับ
จำนวน 20 ข้อ
บทที่4
ผลการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด้กปฐมวัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถามโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อหาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถามและศึกษาทักษะขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยประสบการณ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม
บทที่5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม มีสาระสำคัญดังนี้
- เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โโยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักเรียน
- เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
- ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กและนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม
- ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม มีค่าเท่ากับ0.63
- ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถามสูงกว่าก่อนได้รับประสบการณ์เรียนรู้ อย่างน้อยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น