Learning log 6
Wednesday 3 October 2018
วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอกิจกรรมของตนเองที่ได้สรุปในอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยอาจารย์ได้ให้นำแนะนำก่อนนักศึกษาจะออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
- ผู้สอนจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลองให้เรียบร้อยและให้เรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่สิ่งของชิ้นไหนที่เล็กควรตั้งไว้ด้านหน้า ต้องมีการกำกับติดป้ายหมายเลขที่ภาชนะให้เรียบร้อย ภาชนะชิ้นไหนเป็นชิ้นที่หนึ่งและสองกำกับให้เรียบร้อย
- ในการสอนผู้สอนจะต้องแนะนำอุปกรณ์ให้ครบทุกชนิดและให้ถามผู้เรียนว่า ของชิ้นนี้เด็กๆสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง เด็กๆเคยเห็นที่ไหน ในระหว่างที่ถามผู้สอนก็จะต้องอธิบายอย่างละเอียดเพื่อให้เด็กเข้าใจ
- ผู้สอนร่วมทำกิจกรรมไปพร้อมกับเด็กตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแรกที่จะทำในกระบวนการสอนคือ การตั้งปัญหาสมติฐานในการทดลองว่าการทดลองนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- ผู้สอนจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำการทดลองเพื่อให้เด้กเกิดความสนุกสนานไม่เบื่อหน่าย
- ผู้สอนจะต้องมีการสรุปผลการทดลองอย่างละเอียด
กิจกรรมที่ 1 ปั้มขวดและลิปเทียน
สมมติฐานในการทดลอง
1.ขวดที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นกับน้ำสี
2.น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 เทน้ำสีในจานที่ 1 จากนั้นใส่น้ำร้อนในขวดและเขย่าจนเกิดความร้อนและเทน้ำออกจากนั้นเอาขวดมาคว่ำลงบนจาน
การทดลองที่ 2 เทน้ำสีลงจานที่ 2 จุดเทียนหอมวางไว้บนจานที่ 2และนำแก้วมาครอบเทียนที่จุดเอาไว้
สรุปผลการทดลอง
การที่อุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะลอยขึ้นไปบนขวดทำให้มีน้ำเข้าไแทนที่และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็จะสูงขึ้นตามน้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้เทียนที่จุดไฟดับ
กิจกรรมที่ 2 เมล็ดถั่วเต้นระบำ
สมมติฐานในการทดลอง
1.น้ำโซดาที่เทลงไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเมล็ดถั่วเขียว
2.น้ำที่เทลงไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเมล็ดถั่วเขียว
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 ใส่เมล็ดถั่วเขียวลงไปในแก้วโดยการใช้ช้อนตวงเมล็ดถั่วเขียวจากนั้นก็ใส่น้ำโซดาลงไปในแก้วที่เตรียมไว้
การทดลองที่ 2 ทำเหมือนการทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนจากน้ำโซดาเป็นน้ำเปล่า
สรุปผลการทดลอง
น้ำโซดามีแก๊สที่มีน้ำหนักเบากว่าน้ำจึงทำใหเมล็ดถั่วเขียวเกิดจากลอยตัวขึ้น (แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์)
กิจกรรมที่ 3 แรงตึงผิว
สมมติฐานการในการทดลอง
1.น้ำในแก้วจะนำไปทำอะไรได้บ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 นำน้ำเทลงไปในก้วน้ำให้เต็มแก้วจะเกิดน้ำนูนสูงขึ้นมา
การทดลองที่ 2 ใช้หลอดน้ำดูดน้ำขึ้นนมาแล้วนำน้ำไปหยดลงฝาขวดให้เต็ม ใส่จนเกิดน้ำนูนสูงขึ้นมา
สรุปผลการทดลอง
น้ำมีแรงตึงผิวทำให้น้ำที่เกิดการนูนไม่ล้นออกมา
กิจกรรมที่ 4 แสง
สมมติฐานในการทดลอง
1.ถ้านำเอาไฟมาส่องกับแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 นำแก้วมาวางไว้บนโต๊ะจากนั้นใช้ไฟส่อง
การทดลองที่ 2 นำแก้วทั้งสองใบตั้งให้มีระยะห่างที่เท่ากันไม่ต้องห่างกันมากจากนั้นใช้ไฟส่องเหมือนการทดลองที่ 1
สรุปผลการทดลอง
เมื่อมีการนำไฟไปส่องที่แก้ว แสงจะมีการตกกระทบและเมื่อนำแก้วทั้งสองใบมาวางในระยะห่างที่เท่ากันแก้วใบที่ 1 จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแก้วใบที่ 2
กิจกรรมที่ 5 กระจกเงา
สมมติฐานในการทดลอง
1.ถ้ามีการวาดรูปในกระดาษแล้วนำกระจกมาส่องจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 วาดรูปในกระดาษที่เตรียมเอาไว้แค่ครึ่งรูปแล้วนำกระจกมาส่องที่กระดาษโดยมีการวางของกระดาษในแนวตั้งฉากกับกระจก
สรุปผลการทดลอง
การเกิดแสงสะท้อนของเงาทำให้เห็นรูปภาพที่วาดเอาไว้มีขนาดเต็ม
กิจกรรมที่ 6 ไหลแรงไหลค่อย
สมมติฐานในการทดลอง
1.ถ้าเจาะรูบนขวดน้ำ น้ำจะไหลออกมาได้เร็วหรือช้า
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 นำขวดน้ำที่เตรียมไว้มาเจาะรูโดยมีการเจาะคือ เจาะรูบนขวดและเจาะล่างขวดแล้วนำสก๊อตเทปมาปิดรูที่เจาะเอาไว้และเทน้ำใส่ในขวดที่เจาะรูเอาไว้ให้เต็มขวด
การทดลองที่ 2 นำขวดน้ำที่เจาะรูมาวางไว้บนถาดและนำสก๊อตเทปที่ตดเอาไว้ดึงออกและให้น้ำในขวดไหลออกมา
สรุปผลการทดลอง
รูที่เจาะด้านล่างจะมีน้ำไหลออกมาได้เร็วกว่ารูด้านบน
กิจกรรมที่ 7 ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท
สมมติฐานการทดลอง
1.ดินน้ำมันสามารถปั้นเป็นรูปอะไรได้บ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 ผู้สอนให้เด็กๆปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงกลมจากนั้นให้เด้กกดดินน้ำมันด้านบนและด้านข้าง เพื่อให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยม จากนั้นให้กดทุกด้านให้มีรูปดินน้ำมันยอดปราสาทให้มีขนาดเท่ากัน จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเด็กๆปั้นดินน้ำมันเป็นยาวๆและกลิ้งให้มีพื้นที่เรียบที่สุดและหลังจากนั้นให้เด็กปั้นดินน้ำมันตามจินตนาการของเด็ก เมื่อได้ดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆแล้วให้เด็กใช้เส้นด้ายมาตัดที่ดินน้ำมันแล้วผู้สอนให้เด็กๆโชวืดินน้ำมันของตัวเองว่าเป็นรูปอะไร
สรุปผลการทดลอง
เด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ
กิจกรรมที่ 8 ท่วงทำนองตัวเอง
สมมติฐานการทดลอง
1.การนับจำนวนของตัวเลขมีการนับอย่างไรบ้าง
2.จำนวนเลขคู่ เลขคี่ในการนับ
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 ผู้สอนตัดกระดาษโดยมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นี่เหลี่ยมจัตุรัสและพับมุมทั้ง 4 มุมให้ได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีขนาดเท่ากันให้หมดทุกด้านและพลิกกระดาษและพับมุมกระดาษทั้ง 4 มุมให้เท่ากันเหมือนเดิมและให้ระบายสีทั้งสี่ช่องโดยจะต้องมีสีทีเหมือนกันอยู่สองช่องและคลี่กระดาษให้เด็กๆนับและทายว่าเป็นสีอะไร
สรุปผลการทดลอง
เด็กได้ฝึกการนับเลขไปในตัวและรู้จักสีได้มากขึ้น
กิจกรรมที่ 9 พับและตัด
สมมติฐานการทดลอง
1.เมื่อหยดสีลงบนกระดาษจะเกิดเป็นรูปอะไร
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดองที่ 1 ให้เด็กพับกระดาษโดยการแบ่งครึ่งของกระดาษให้เท่าๆกันและหยดสีลงบนกระดาษและปิดกระดาษลงและกดกระดาษตรงที่ๆมีสีและให้เด็กๆหยุดสีลงบนจุดกึ่งกลางของกระดาษและปิดนับแล้วเอาเส้นด้ายมาหมุนวนตามเข็มนาฬิกา
สรุปผลการทดลอง
ในการดึงได้จะได้รูปในลักษณะต่างๆ
กิจกรรมที่ 10 แสง สี และการมองเห็น
สมมติฐานการทดลอง
1.ทำไมกระดาษสีที่มีสีเดียวกันถึงมองรูปภาพไม่เห็น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 วาดรูปลงบนกระดาษโดยการใช้สี 3 สี เช่น สีเขียว แดง น้ำเงิน จากนั้นนำกระดาษแก้วมาวางบนแผ่นที่วาดรูปเอาไว้
สรุปผลการทดลอง
กระดาษที่มีสีเดียวกันไม่สามารถเห็นรูปที่วาดเอาไว้ได้
ประเมินตัวเอง :ตั้งใจนำเสนออย่างดีอาจจะมีผิดพลาดบ้างแต่จะนำไปแก้ไขปรับปรุง
ประเมินเพื่อน :วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อยแต่นำเสนอได้ดีได้ครบทุกคน
ประเมินอาจารย์ :มีการอธิบายเพิ่มเติมให้อย่างละเอียด แนะนำการนำเสนอของนักศึกษาทุกคน ถือเป็นเรื่องที่ดี